เปลี่ยนภาษา:  English

เรียนที่ CM-TU

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมี
(หลักสูตรนานาชาติ)

ภาษาอังกฤษ ภาคปกติ
ระยะเวลา: 2 ปี
จำนวนรับเข้า: 10 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาต้องเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561ข้อ 22-23 และต้องมีคุณสมบัติดังนี้

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งในหรือต่างประเทศจากสถาบันที่สภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ โดยต้องมีค่าระดับเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.5 หรือต้องมีประสบการณ์ในการทำงานทางด้านเคมีแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีโดยมี คำรับรองจากผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้าโครงการวิจัย หรือได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสอบคัดเลือก
  2. ผู้เข้าศึกษาต้องส่งผลทดสอบภาษาอังกฤษ TU-GET หรือ TOEFL หรือ IELTS (ผลสอบต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสมัคร)
  3. ในกรณีที่ผู้สมัครมีคะแนนสอบภาษาอังกฤษไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน ข้อ 2 แต่มีผลการเรียนระดับดีมาก หรือมีผลงานวิจัยที่เคยได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารวิชาการหรือในงานประชุมวิชาการ คณะอาจรับเข้าศึกษาแบบมีเงื่อนไข โดยต้องมีคะแนนสอบภาษาอังกฤษไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสอบคัดเลือก

    จำนวนหน่วยกิต:

    • จำนวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า    36 หน่วยกิต
      • วิชาบังคับ                     3 หน่วยกิต 
      • วิชาบังคับเลือก            9 หน่วยกิต
      • วิชาเลือก                      6 หน่วยกิต
      • วิทยานิพนธ์                 18 หน่วยกิต

    ค่าเล่าเรียน:

    • N/A

    สถานที่ศึกษา:

    ใช้สถานที่และอุปกรณ์การสอนที่มีอยู่ในภาควิชาเคมี
    คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    ศูนย์รังสิต

    ติดต่อหลักสูตร:

      0-2564-4440-79 ต่อ 2409
      https://chemistry.sci.tu.ac.th/
       chemistrythammasat
     

    ในการพัฒนาประเทศเพื่อให้คนในสังคมมีคุณภาพชีวิตและมีสภาวะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นนั้น นอกจากจะต้องเร่งพัฒนาคนแล้วยังจะต้องทำการส่งเสริมความก้าวหน้าในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อนำทรัพยากรต่างๆ มาใช้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบในด้านลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งในทางตรงและทางอ้อม ซึ่งหากจะทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริงแล้วจำเป็นต้องอาศัยนักวิทยาศาสตร์ที่มีความรู้ความสามารถเป็นจำนวนมาก

    วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

    • เพื่อผลิตมหาบัณฑิตสาขาเคมีที่มีความเป็นเลิศทั้งทางด้านวิชาการและการประยุกต์ใช้ เพื่อสนองความต้องการตามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติของประเทศ
    • เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความเข้าใจทางเคมีอย่างลึกซึ้ง มีศักยภาพ และมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้แก่ผู้อื่นได้และมีจริยธรรมต่อสังคม
    • เพื่อผลิตมหาบัณฑิตสาขาเคมีที่มีความสามารถในการดำเนินการวิจัย เพื่อการพัฒนาทางวิชาการ

    Program Learning Outcomes (PLOs)

     

    Plan 1-1: Thesis

    • PLO1: Demonstrate advanced knowledge and understanding of key concepts, theories, and methodologies in the field of chemistry.
    • PLO2: Apply and analyze chemical knowledge to formulate research questions and solve complex scientific problems.
    • PLO3: Integrate interdisciplinary knowledge to design and conduct research in chemistry, contributing to innovation and scientific advancement.
    • PLO4: Critically assess scientific literature and research findings to identify gaps and opportunities for further investigation.
    • PLO5: Design and execute research plans using appropriate methodologies and tools to generate valid and reliable results.
    • PLO6: Evaluate and interpret experimental data to draw scientifically sound conclusions.
    • PLO7: Demonstrate accountability, discipline, and the ability to work independently and collaboratively in diverse research environments.
    • PLO8: Engage in lifelong learning and professional development with a growth mindset and openness to feedback.
    • PLO9: Show respect for diverse opinions and collaborate effectively in multidisciplinary teams.
    • PLO10: Utilize digital tools and technology effectively to support learning, data analysis, and scientific communication.
    • PLO11: Communicate research findings clearly and effectively in both oral and written forms to academic and professional audiences, locally and internationally.
    • PLO12: Adhere to ethical standards in all aspects of research, including data management, authorship, and citation practices.
    • PLO13: Manage chemicals and laboratory procedures safely in accordance with relevant national and international safety regulations (e.g., ESPREL).
    • PLO14: Demonstrate global citizenship by embracing sustainability, responsibility, and ethical conduct in professional practice.

    Plan 1-2: Coursework and Thesis

    • PLO1: Demonstrate comprehensive knowledge and understanding of fundamental and advanced concepts, principles, and theories in the field of chemistry.

    • PLO2: Apply and analyze established and emerging chemical knowledge to support research and solve discipline-related problems.

    • PLO3: Synthesize chemical knowledge to identify, formulate, and propose innovative solutions in academic and professional contexts.
    • PLO4: Critically evaluate chemical research and literature to identify research gaps and opportunities.
    • PLO5: Design, plan, and conduct research with appropriate methodologies and analytical strategies.
    • PLO6: Analyze and interpret research data to generate logical, evidence-based conclusions and recommendations.
    • PLO7: Demonstrate discipline, responsibility, and adaptability in both independent and collaborative work settings.
    • PLO8: Engage in continuous professional development and self-directed learning to keep pace with scientific and technological advancements.
    • PLO9: Show respect for diverse perspectives and collaborate effectively in multidisciplinary and multicultural environments.
    • PLO10: Utilize digital technologies and tools to support learning, research, data management, and communication effectively.
    • PLO11: Communicate research findings and complex scientific information clearly and effectively in both oral and written forms to academic and professional audiences, including international platforms.
    • PLO12: Conduct research and laboratory work in accordance with safety standards and responsible chemical handling practices (e.g., ESPREL).
    • PLO13: Uphold high standards of research integrity and academic honesty in all scholarly activities.
    • PLO14: Practice ethical decision-making and professional conduct in alignment with global citizenship and sustainability principles.

    การทำวิทยานิพนธ์

    • นักศึกษาจะจดทะเบียนทำวิทยานิพนธ์ได้ เมื่อศึกษารายวิชามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ภาคการศึกษา และจะต้องมีหน่วยกิตสะสมไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต โดยมีค่าระดับเฉลี่ยสะสมไม่ต่ากว่า 3.00
    • นักศึกษาต้องทำวิทายานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษ
    • หลังจากจดทะเบียนทำวิทยานิพนธ์แล้ว นักศึกษาจะต้องเสนอโครงร่างวิทยานิพนธ์ต่อคณะกรรมการบริหารโครงการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมี เพื่อเสนอคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดำเนินการแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และกรรมการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ รวมไม่น้อยกว่า 3 ท่าน
    • อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของสำนักคณะกรรมการอุดมศึกษา

    กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

    • อาจารย์ ในมหาวิทยาลัยของรัฐ และเอกชน
    • นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ทดสอบ ตรวจสอบสารเคมีในหน่วยงานราชการ และเอกชน
    • นักวางแผนและควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรมเคมี
    • นักควบคุมและประกันคุณภาพในอุตสาหกรรมเคมี
    • นักขายเคมีภัณฑ์ เครื่องมือ และอุปกรณ์วิทยาศาสตร์

    “นอกจากความรู้ที่เราได้รับจะทำให้เราประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานแล้ว ความอดทนและความรับผิดชอบที่เราได้จากการเรียนที่นี่ก็มีส่วนไม่น้อยที่จะทำให้เราประสบผลสำเร็จเช่นเดียวกัน“