ผลงานไฮไลต์

วิทยานิพนธ์ดีเด่น

ผศ.ดร.วุฒิพล สินธุนาวารัตน์ นักวิจัยรางวัลระดับโลก กับผลงาน “ทฤษฎีจุดตรึงและการประยุกต์ (Fixed point theory and applications)

ผศ.ดร.วุฒิพล สินธุนาวารัตน์ อาจารย์สาขาคณิตศาสตร์และสถิติ กับผลงานวิจัยโดดเด่นในหัวข้อ “ทฤษฎีจุดตรึงและการประยุกต์ (Fixed point theory and applications)” ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ระดับดี จากสภาวิจัยแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2557 และได้รับการคัดเลือกเป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่นระดับคณะฯ ปี พ.ศ. 2557 เป็นนักคณิตศาสตร์ของประเทศไทยเพียงท่านเดียวที่ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัล “The World’s Most Influential Scientific Minds 2015” จาก ทอมสัน รอยเตอร์ส (Thomson Reuters)

การสังเคราะห์และการออกฤทธิ์ทางชีวภาพของอนุภาคโปรตีนขนาดเล็กในกลุ่ม Cysteine Knot Microprotein

ดร. ภานุมาศ ทองอยู่ อาจารย์สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประสบความสำเร็จในการพัฒนาการสังเคราะห์ MCoTIscyclotide ทั้งที่เป็นแบบที่สามารถพบได้ในธรรมชาติและอนุพันธ์โดยใช้วิธีที่พัฒนาขึ้น 2 วิธีทั้งที่เป็นแบบเคมีอินทรีย์สังเคราะห์ที่เรียกว่า thia-zip native chemical ligation และแบบชีวเคมี

 

Liquid crystals: rediscovered materials fascinating researchers for more than a century

บทความวิจัย Liquid crystals: rediscovered materials fascinating researchers for more than a century (Smectic B phase of methyl 4-(4′-octylphenyl)benzoate) ซึ่งมีภาพ liquid crystal ถ่ายโดยใช้กล้องไมโครสโคป ซึ่ง รศ.ดร.สุกฤษ ตันตราวงศ์ อาจารย์สาขาวิชาเคมีส่งรูปเข้าร่วมแข่งขัน “Materials Today Cover Competition 2014, Sponsored by Zeiss” ผลงานชิ้นนี้เป็น 1 ใน 10 ชิ้นที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ และได้รับคัดเลือกเป็นหน้าปกของวารสาร Materials Today ปี 2014 ฉบับที่ 17

 

การจำลองโครงสร้างคาร์บอนนาโนทิว

งานวิจัยเรื่อง Dissipative Particle Dynamics Study of SWCNT Reinforced Natural Rubber Composite System: An Important Role of Self‐Avoiding Model on Mechanical Properties โดย รศ.ดร.ยุทธนา ตันติรุ่งโรจน์ชัย หัวหน้าหน่วยวิจัยเคมีเชิงคำนวณ สาขาวิชาเคมีซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในฐาน SCOPUS และได้รับการคัดเลือกให้ลงปกหน้าของวารสาร Macromolecule Theory and Simulationsปี 2018, Volume 27 แสดงการจำลองโครงสร้างคาร์บอนนาโนทิว ซึ่ง cross-linking กับ polyisoprene โดยใช้การประมวลผลจากคอมพิวเตอร์

การสังเคราะห์และการออกฤทธิ์ทางชีวภาพของอนุภาคโปรตีนขนาดเล็กในกลุ่ม Cysteine Knot Microprotein

งานวิจัยพื้นฐานโดย รศ.ดร.พีระศักดิ์ เภาประเสริฐและนักศึกษาสาขาวิชาเคมี ที่ใช้ปฏิกิริยาทางเคมีเปลี่ยนขยะเป็นสารที่มีมูลค่าสูง คือคาร์บอนดอท ซึ่งใช้เป็นเซนเซอร์ในทางการแพทย์และตรวจวัดมลพิษในสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีคุณสมบัติในการเรืองแสง นอกจากนี้ยังใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ใช้ประกอบการสร้าง superconductor เป็นต้น  ตีพิมพ์ใน ฐาน SCOPUS 10 ผลงาน รางวัลชนะเลิศ ideal proposalในงาน PTTGC INNOVATION Challenge 2016 และ “Carbon Dots: They are 50 Times More Expensive Than Gold” ได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ