เกี่ยวกับสาขา

สาขาวิชาเคมี
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

          ก่อนที่จะมีราชกิจจานุเบกษาวันที่ 6 กรกฎาคม 2537 ประกาศให้มีภาควิชาเคมี ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณาจารย์ 3 ท่าน คือ ผศ. วิมลวรรณ เกสรสมบูรณ์ อ. ทองดี เล็กโสภี และ ผศ.ดร. กิตติ อมรรักษา ซึ่งอยู่ในกลุ่มของคณาจารย์สายวิทยาศาสตร์ (เคมี) สังกัดอยู่ในคณะศิลปศาสตร์เพื่อสอนวิชา มธ.130 ให้นักศึกษาในสมัยนั้น ได้ย้ายมาปฏิบัติราชการที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามราชกิจจานุเบกษาวันที่ 31 มีนาคม 2529 เป็นผู้ริเริ่มในร่างหลักสูตรเคมีขึ้น

          แต่ในช่วงแรกมหาวิทยาลัยไม่มีนโยบายที่จะเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ คณาจารย์ในกลุ่มวิชาเคมี จึงสังกัดอยู่ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และทำหน้าที่สอนวิชาพื้นฐานทางเคมีให้แก่นักศึกษาทุกคนในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ต้องเรียนหมวดพื้นฐานเคมี และวิชาเคมีในรหัส 2xx และ 3xx ของหลักสูตรวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและวิทยาศาสตร์สุขภาพ พร้อมอาจารย์อีก 4 ท่าน คือ อ. เกศสิรี โรจนวิภาต อ. สุกฤษ ตันตราวงศ์ ผศ. ดร. สมลักษณ์ เรืองสุทธินฤพาน และ อ. นฤมล วชิรปัทมา

หลักสูตรทั้งหมด

นักศึกษาทั้งหมด

บุคลากรทั้งหมด

2535

รับนักศึกษาเคมีรุ่นแรก

ในปีการศึกษา 2535 รับนักศึกษาเคมีรุ่นแรกและเป็นรุ่นเดียวที่รับรวมในหลักสูตร เทคโนโลยีการเกษตร และ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร แล้วจึงมีการแยกสาขาในปีที่ 2 (ในปีการศึกษา 2535 จึงได้มีการรับนักศึกษาเคมีในชั้นปีที่ 1 โดยตรง)

2537

ประกาศให้มีภาควิชาเคมี

         หลังจากมีราชกิจจานุเบกษาวันที่ 6 กรกฎาคม 2537 ประกาศให้มีภาควิชาเคมี คณาจารย์จึงได้ย้ายมาปฏิบัติราชการที่ภาควิชาเคมี มี ผศ.ดร. กิตติ อมรรักษา เป็นหัวหน้าภาคคนแรก ขณะนั้นก็มีคณาจารย์เพิ่มเติมอีกหลายท่านเข้าร่วมกับภาควิชาเคมี ในช่วงแรกมีการใช้ห้องปฏิบัติการพื้นฐานที่ชั้น 3 อาคาร บร. 2 ห้องปฏิบัติการวิชาปีสูงที่ชั้น 3 อาคาร บร. 4 และ ห้องเครื่องมือวิเคราะห์ทางเคมีที่ชั้น 2 อาคาร บร. 3

2546

ย้ายมาอยู่ที่อาคาร บร. 5

         ซึ่งได้เริ่มใช้ครั้งแรกในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2546 นอกจากงบประมาณแผ่นดินประจำปี ทางภาควิชาเคมีได้รับการสนับสนุนทางด้านครุภัณฑ์จากโครงการเงินกู้จากธนาคารโลก (ในปี พ.ศ. 2543-2545) จำนวนหนึ่งเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนการสอนและปฏิบัติการ ตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงระดับสูง และงานวิจัยของอาจารย์และนักศึกษา ในขณะเดียวกันก็มีการเปิดรับคณาจารย์รุ่นใหม่เรื่อยๆ รวมทั้งจัดหาทุนการศึกษาเพื่อให้คณาจารย์รุ่นใหม่เดินทางไปศึกษาต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ

2549-ปัจจุบัน

เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต

เมื่อมีคณาจารย์มากขึ้นภาควิชาจึงมีการเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตในปี 2549 ภาควิชาเคมีได้มีการปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต และปรัชญาดุษฏีบัณฑิต อย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษาและตลาดงานในปัจจุบัน