เปลี่ยนภาษา:  English

เรียนที่ CM-TU

ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาเคมี
(หลักสูตรนานาชาติ)

ภาษาอังกฤษ ภาคปกติ
ระยะเวลา:
– นักศึกษาซึ่งสำเร็จปริญญาโท ใช้เวลาการศึกษา 3 ปี
   จำนวนรับเข้า 3 คน
– นักศึกษาซึ่งสำเร็จปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ใช้เวลาการศึกษา 4 ปี
   จำนวนรับเข้า 2 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาต้องเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 ข้อ 22-23 และต้องมีคุณสมบัติดังนี้

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญาโททางวิทยาศาสตร์ สาขาเคมีหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันการศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศที่สภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 ในกรณีที่คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ถึงเกณฑ์กำหนด ต้องมีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างน้อย 1 เรื่อง หรือผลงานวิจัยอื่นนอกเหนือจากผลงานวิจัยที่ใช้เพื่อประกอบการสำเร็จการศึกษา หรือ
  2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ทางวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี หรือสาขาที่เทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศที่สภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะโดยมีผลการศึกษาระดับเกียรตินิยม หรือมีผลการเรียนดีเด่น โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50
  3. ผู้เข้าศึกษาต้องส่งผลทดสอบภาษาอังกฤษ TU-GET หรือ TOEFL หรือ IELTS (ผลสอบต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสมัคร)
  4. ในกรณีที่ผู้สมัครมีคะแนนสอบภาษาอังกฤษไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน ข้อ 3 แต่มีผลการเรียนระดับดีมาก หรือมีผลงานวิจัยที่เคยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ หรือมีหลักฐานผลงานวิจัยเป็นที่ประจักษ์ว่าผู้สมัครมีศักยภาพสูงในการวิจัย โดยหลักฐานผลงานวิจัยดังกล่าวต้องผ่านประเมินจากกรรมการบริหารหลักสูตร คณะอาจรับเข้าศึกษาแบบมีเงื่อนไข โดยต้องมีคะแนนสอบภาษาอังกฤษไม่ต่ากว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (ผลสอบต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสมัคร)

    จำนวนหน่วยกิต:

    • ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
      • วิชาสัมมนาทางเคมี (ไม่นับหน่วยกิตรวม)    6 หน่วยกิต
      • วิทยานิพนธ์                                                  48 หน่วยกิต
    • ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
        • วิชาระเบียบวีธีการวิจัย (ไม่นับหน่วยกิตรวม) 1 หน่วยกิต
        • วิชาสัมมนาทางเคมี (ไม่นับหน่วยกิตรวม)     6 หน่วยกิต
        • วิทยานิพนธ์                                                   72 หน่วยกิต

    ค่าเล่าเรียน:

    • N/A

    สถานที่ศึกษา:

    ใช้สถานที่และอุปกรณ์การสอนที่มีอยู่ในภาควิชาเคมี
    คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    ศูนย์รังสิต

    ติดต่อหลักสูตร:

      0-2564-4440-79 ต่อ 2409
      https://chemistry.sci.tu.ac.th/
       chemistrythammasat
     

    เพื่อให้คนในสังคมมีคุณภาพชีวิตและมีสภาวะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นนั้น นอกจากจะต้องเร่งพัฒนาคนแล้วยังจะต้องทำการส่งเสริมความก้าวหน้าในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อนำทรัพยากรต่างๆ มาใช้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบในด้านลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งในทางตรงและทางอ้อม ซึ่งหากจะทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริงแล้วจำเป็นต้องอาศัยนักวิทยาศาสตร์ที่มีความรู้ความสามารถเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มพูนความรู้หรือการสร้างวิทยาการใหม่ๆ ตลอดจนการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมและยั่งยืนอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต

    วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

    เพื่อให้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรมีลักษณะดังนี้

    • เป็นเลิศทั้งทางด้านวิชาการและการประยุกต์ใช้ เพื่อสนองความต้องการตามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติของประเทศ
    • มีความเข้าใจทางเคมีอย่างลึกซึ้ง มีศักยภาพ และมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้แก่ผู้อื่นได้และมีจริยธรรมต่อสังคม
    • มีความสามารถในการดำเนินการวิจัย และพัฒนาขั้นสูง สามารถดำเนินการวิจัยได้โดยอิสระ
    • มีความรู้ความสามารถแข่งขันกับดุษฏีบัณฑิตจากสถาบันการศึกษาอื่นๆ ได้และเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานระดับสากล

    มาตรฐาน ผลการเรียนรู้

    • มีความรู้ความเข้าใจหลักการเขียนเอกสารด้านวิชาการ และบทความวิจัยทางด้านเคมี ในระดับนานาชาติ
    • มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในแขนงวิชาใด วิชาหนึ่ง ในสาขาเคมี อย่างลึกซึ้งมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์งานวิจัยที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ สามารถนำองค์ความรู้ทางเคมีมาบูรณาการกับองค์ความรู้อื่นเพื่อใช้ในการทำวิจัยขั้นสูง และนำมาใช้แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
    • มีความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคนิคเฉพาะที่เกี่ยวข้องทางด้านเคมีกับงานวิจัย
    • สามารถสื่อสารงานวิจัยโดยการเขียนและการพูดได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

    กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

    • นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์
    • อาจารย์ระดับอุดมศึกษา
    • นักควบคุมประกันคุณภาพในอุตสาหกรรมเคมี

    “นอกจากความรู้ที่เราได้รับจะทำให้เราประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานแล้ว ความอดทนและความรับผิดชอบที่เราได้จากการเรียนที่นี่ก็มีส่วนไม่น้อยที่จะทำให้เราประสบผลสำเร็จเช่นเดียวกัน“