เปลี่ยนภาษา:  English

เรียนที่ CMTU

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี

ภาษาไทย ภาคปกติ
ระยะเวลา: 4 ปี
จำนวนรับเข้า: 60 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

จำนวนหน่วยกิต:

  • จำนวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า    132 หน่วยกิต
    • วิชาศึกษาทั่วไป                             30 หน่วยกิต 
    • วิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า                  96 หน่วยกิต
    • วิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า               6 หน่วยกิต

 

ค่าเล่าเรียน:

  • ค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษา 50,000 (ห้าหมื่น) บาทต่อปี โดยมีการบริหารจัดการเป็นโครงการปกติ ใช้งบประมาณแผ่นดินประจำปี และงบรายได้หน่วยงาน

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร:

  02-564-4440-79 ext. 2409
  https://chemistry.sci.tu.ac.th/
  chemistrythammasat

     มุ่งศึกษา และทำความเข้าใจถึงกระบวนการต่างๆที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ และที่อยู่รอบตัวเราว่ามีลักษณะ และประกอบด้วยอะไร มีโครงสร้าง และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร เคมีเป็นกุญแจสำคัญที่ใช้ในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตประจำวัน สามารถอธิบายถึงองค์ประกอบ ปฏิกิริยาและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดในระดับโมเลกุลในสิ่งชีวิต และยังเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางเทคโนโลยีชีวภาพ ที่มีบทบาทสาคัญในการพัฒนายา วัสดุสังเคราะห์ต่าง ๆ สามารถให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธรณีวิทยา การเกษตร สิ่งแวดล้อม และนิติวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
     นอกจากนี้วิชาเคมีเป็นจักรกลสาคัญในศาสตร์ใหม่ เช่น นาโนเทคโนโลยี เป็นต้น เป็นวิชาที่มีการทดลองในห้องปฏิบัติการซึ่งผลการทดลอง และการวิจัยทำให้เกิดพัฒนาการทางเคมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  • ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้พื้นฐานทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์ดี สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและนำไปประกอบวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม และเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาต่อในระดับสูง
  • ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการจัดระบบความคิด คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แก้ปัญหาด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างเป็นระบบ และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้
  • ผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ มุ่งมั่น และมีความใฝ่รู้ สามารถนำความรู้มาพัฒนาตนเองในการประกอบอาชีพ ควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ
  • ผลิตบัณฑิตสาขาเคมีที่มีความรู้ทั้งด้านเคมีพื้นฐานควบคู่กับเคมีประยุกต์ เพื่อตอบสนองความต้องการกำลังคนแก่ทั้งภาครัฐและอุตสาหกรรม

การฝึกงานหรือสหกิจ

การเรียนรู้และประสบการณ์การทำงานในสายวิชาชีพเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการประยุกต์ใช้ทฤษฎีต่างๆ กับปัญหาจริงนอกห้องเรียน สถานที่ฝึกงานอาจเป็นหน่วยงานราชการ องค์กรภาครัฐหรือเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับเคมี รวมทั้งห้องวิจัยในสถาบันการศึกษาอื่นๆ นอกเหนือจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สำหรับการลงทะเบียนในภาคฤดูร้อน ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3)

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย นักเคมีประจำห้องปฏิบัติการทดสอบ ห้องปฏิบัติการวิจัย และโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งของภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้ยังสามารถปฏิบัติงานในตำแหน่งนักวิชาการเคมีในหน่วยงานต่างๆ พนักงานขายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับสารเคมีหรืออุปกรณ์เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เจ้าหน้าที่ควบคุมการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนการเป็นเจ้าของกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับสารเคมีหรืออุปกรณ์เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์

นอกจากความรู้ที่เราได้รับจะทำให้เราประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานแล้ว ความอดทนและความรับผิดชอบที่เราได้จากการเรียนที่นี่ก็มีส่วนไม่น้อยที่จะทำให้เราประสบผลสำเร็จเช่นเดียวกัน