เปลี่ยนภาษา:  English

เรียนที่ BEBTU

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงานชีวภาพและการแปรรูปเคมีชีวภาพ

ภาษาไทย ภาคปกติ
ระยะเวลา: 4 ปี
จำนวนรับเข้า: 30 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

จำนวนหน่วยกิต:

  • จำนวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า    138 หน่วยกิต
    • วิชาศึกษาทั่วไป                             30 หน่วยกิต 
    • วิชาเฉพาะ                                    102 หน่วยกิต
    • วิชาเลือกเสรี                                   6 หน่วยกิต

 

ค่าเล่าเรียน:

  • ค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษา 50,000-55,000 บาทต่อภาคการศึกษา โดยมีการบริหารจัดการเป็นโครงการพิเศษ ใช้งบประมาณแผ่นดินประจำปี และงบรายได้หน่วยงาน

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศูนย์รังสิต และสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม

ติดต่อหลักสูตร:

  02-564-4440-79 ext. 2409
  https://chemistry.sci.tu.ac.th/
  BioenergyTU

        อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ เป็น 1 ใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการคาดการณ์ว่า จะเติบโตเร็วในอนาคต และเป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูง เนื่องจากมีความ พร้อมทางด้านวัตถุดิบจากชีวมวล ปัจจุบันประเทศไทยมีอุตสาหกรรมเคมีและอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงเอทานอลที่พัฒนาแล้ว และมีแนวโน้มการสร้างอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพอย่างครบวงจร รวมถึงผลิตภัณฑ์เคมีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวัฎจักรชีวิต และผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ชนิดพิเศษที่สามารถย่อยสลายได้ 
        รวมทั้งยกระดับอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน โดยขยายการใช้เทคโนโลยีผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพรุ่นที่สอง (ซึ่งหมายถึงเชื้อเพลิงชีวภาพที่ผลิตจากวัตถุดิบที่ไม่เป็นอาหาร เช่น ซังข้าวโพดและชานอ้อย) และเพิ่มการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพรุ่นที่สาม (ซึ่งหมายถึงเชื้อเพลิงชีวภาพที่ผลิตจากสาหร่ายที่สามารถเพาะเลี้ยงได้) พลังงานจากชีวมวล เป็นพลังงานที่ได้จากพืชและสัตว์ หรือองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตหรือสารอินทรีย์ต่าง ๆ รวมทั้งการผลิตจากการเกษตรและป่าไม้ เช่น ไม้ฟืน แกลบ กากอ้อย วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอื่น ๆ รวมถึงการนำมูลสัตว์ ของเสียจากโรงงานแปรรูปทางเกษตร และขยะ มาเผาไหม้โดยตรงและนำความร้อนที่ได้ไปใช้ หรือนำมาผลิตแก๊สชีวภาพ โดยขบวนการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีโดยอาศัยจุลินทรีย์ การสร้างองค์ความรู้ให้กับบัณฑิตเกี่ยวกับความสำคัญของชีวมวลไปสู่การนำชีวมวลใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยใช้องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ มาบูรณาการ จึงเป็นการสร้างบุคลากรในประเทศยุคใหม่ให้มีการตระหนักถึงความสำคัญ การพัฒนาศักยภาพการใช้พลังงานจากทรัพยากรในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีการตระหนักถึงผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมและการลดความเสี่ยงต่อการพึ่งพาพลังงานเชิงพาณิชย์

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  • ตอบสนองความขาดแคลน ทรัพยากรบุคคลของภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน
  • มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และมีความสามารถในการดำเนินการค้นคว้าวิจัย และปฏิบัติงานในด้านเทคโนโลยีพลังงานชีวภาพและการแปรรูปเคมีชีวภาพ
  • มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงทางด้านเทคโนโลยีพลังงานชีวภาพและการแปรรูปเคมี ชีวภาพ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์และถ่ายทอดได้ตามความเหมาะสมของสภาพเศรษฐกิจและสังคม
  • มีความรู้พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีพลังงานชีวภาพและการแปรรูปเคมีชีวภาพในระดับที่สามารถศึกษาต่อขั้นสูงได้
  • มีความรู้พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีพลังงานชีวภาพและการแปรรูปเคมีชีวภาพเพื่อสามารถออกไปเป็นผู้ประกอบการได้
  • มีคุณธรรมและจริยธรรม

การฝึกงานหรือสหกิจ

มีการส่งนักศึกษาไปสหกิจศึกษาในสถานประกอบการเป็นระยะเวลา 2 ภาคการศึกษา ในปีการศึกษาที่ 4

มาตรฐานผลการเรียนรู้ของประสบการณ์ภาคสนาม

  • สามารถใช้ความรู้ ความเข้าใจในหลักการการเรียนรู้เชิงทฤษฎี มาผสมผสานให้เกิดทักษะในการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ
  • บูรณาการองค์ความรู้ที่เรียนมาเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดในภาคอุตสาหกรรม โดยใช้เทคโนโลยี พลังงานชีวภาพและการแปรรูปเคมีชีวภาพเป็นเครื่องมือได้อย่างเหมาะสม
  • มีมนุษยสัมพันธ์และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี
  • มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา และเข้าใจวัฒนธรรมขององค์กร ตลอดจนสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานที่ฝึกงานได้
  • มีความกล้าแสดงออก และมีความคิดสร้างสรรค์ต่องานที่ทำ

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

  • นักเทคโนโลยีในสถานประกอบการ
  • ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
  • นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ทั้งในหน่วยงานราชการและเอกชน
  • พนักงานราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
  • อาจารย์ทั้งในหน่วยงานราชการและเอกชน
  • อาชีพอิสระ

“เน้นให้การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทำงาน โดยเข้าฝึกปฏิบัติงานจริง ณ สถานประกอบการที่ตกลงออกแบบและพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน”